by www.zalim-code.com

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุป VDO

สรุป VDO




VDO เรื่อง ปฎิบัติการสำหรับเด็กปฐมวัย ICT-Early Years In Action : ICT

    เทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญของการเรียน การสอน ไม่ว่าจะระดับใดก็ตาม ในส่วนของประฐมวัยก็สามารถนำมาใช้ได้เหมือนกัน เเต่เราก็ควรที่จะดูเเลเด็กอย่างใกล้ชิด เราจะนำเทคโนโลยีมาใช้ เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสม กับระดับพัฒนาการของเด็กเหล่านี้ วิธีการเรียนการสอนโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังต่อไปนี้ - ทำอาหารโดยใช้ไมโครเวฟ - ใช้เครื่องบันทึกเสียงในการบันทึกเพลง - ให้พ่อแม่ใช้กล้องดิจิตัลในการบันทึกภาพ - สังเกตดูตัวหนอนโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ - ใช้เว็บแคมในการบันทึกภาพต่อเนื่อง การใช้กล้องVDO บันทึกการเคลื่อนไหวของเด็ก  ซึงสิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น



สรุปบทความ

สรุปบทความ

เรื่อง  บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 
โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ


  วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์คสรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สนองความสนใจของเด็ก ควรได้รับประสบการณ์ตรง 
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน 
        สสวท.จึงร่วมกับกลุ่มนักวิชาการ พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้ 
                                             1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 
                                             2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 
                                             3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
 
 เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ 

                                     1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ 
                                     2.ดำเนินการหาความรู้ด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแบบที่กำหนดให้ 
                                     3.เข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ 
                                     4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย 
                                     5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย 
                                     6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 

                                     1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม 
                                     2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจ ด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาในการถาม การหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง 
                                        3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้ 
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก 
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม 
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ 
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด 
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว 
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 

         การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้ 
1.เราต้องการค้นหาอะไร 
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้ 
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง 
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง 

จะเอาไปใช้อย่างไรApplying)
    จากการศึกษาเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยคือได้ทราบ หลักการและความสำคัญ เป้าหมาย บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้นำแนวทางนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป ในอนาคต

เอกสารอ้างอิง  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546 




สรุปงานวิจัย


สรุปงานวิจัย

งานวิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

งานวิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    การศึกษาระดับ   มหาบัณฑิต

ผู้วิจัย เอราวรรณ ศรีจักร


บทนำ

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
ประเด็นที่1         วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต
ประเด็นที่2 วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ (Knowledge basedsociety) คนทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ 
ประเด็นที่3     การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูใช้ประสบการณ์การคิดและปฏิบัติ
ประเด็นที่4      เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4 - 5 ปีมีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีความเชื่อว่า ทุกอย่างมีชีวิต(animism) มีความรู้สึกและเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดมุ่งหมาย (purposivism) และชอบตั้งคำถามโดยใช้คำว่า “ทำไม”

ประเด็นที่5    การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัส (Sensory Motor) เป็นหลักการเรียนรู้(Piaget. 1969) สื่อสำหรับเด็กในการเรียนรู้มีหลายชนิด สื่อแต่ละชนิดสามารถปรับใช้ได้กับหลายจุดประสงค์

ประเด็นที่6   แบบฝึกทักษะเป็นเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาและทักษะต่างๆ มีรูปแบบ วิธีการ ที่มีแบบแผน กฎเกณฑ์ โดยมีคำสั่งของแต่ละกิจกรรมตามเนื้อหาจุดประสงค์ของแบบฝึกแต่ละเล่ม ซึ่งเป็นแบบฝึกเกี่ยวกับภาพ ครูจะใช้ประกอบขณะเด็กทำกิจกรรมหรือตอนสรุปการเรียน



ความมุ่งหมายของการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ ดังนี้1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ     วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่นๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ


ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

ตัวแปรในการวิจัย 
              ตัวเเปรอิสระ/ตัวเเปรต้น คือ  กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
ตัวเเปรตาม/ตัวจัดกระทำ ได้เเก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
                                                        1. สังเกต
                                                        2. จำเเนกประเภท
                                                        3. สื่อสาร
                                                        4. การลงความเห็น
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.   เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา
2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3.ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการใช้ความคิด การค้นหาความรู้เพื่อหาคำตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ ในการวิจัยนี้จำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
3.2 การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์
3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอกข้อความหรือเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ค้นพบจากการสังเกต การทดลอง เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
3.4  การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่งที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการใช้เหตุผล
4. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง งานการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลำดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ ของรศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่นำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำ ได้รับประโยชน์จริง ดังนี้
ขั้นนำ เป็นขั้นการเตรียมเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียน
ขั้นสอน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 จัดกิจกรรมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน และตอนที่ 2 ทำชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
ขั้นสรุป เด็กร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับจากการเรียนเรื่องนั้นๆ
5. ชุดแบบฝึกทักษหมายถึง แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain - Based Learning) สำหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะจำนวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต พืช สัตว์ และโลกของเรา


สมมุติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ มีการพัฒนา
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

บทที่ 3
ประชากร  ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2

วิธีดำเนินการวิจัย
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 15 คน

                                                              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้ง นี้มีดังนี้
1.ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain -
Based Learning) ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

การดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 เป็นเวลา 10สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ในการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ และวันศุกร์ ในช่วงเวลา 08.00 - 11.30 น. ในการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ใช้สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 10 ระยะเวลาในการประเมินจากเด็กจำนวน 15 คน ใช้เวลาในการทำแบบประเมินคนละ 5 ข้อ ข้อละ 2 นาที รวม10 นาที ต่อเด็ก 1 คน การประเมินในแต่ละวันให้เด็กทำตามการจำแนกรายด้านดังนี้
                                                       วันจันทร์ ชุดที่ 1 การสังเกต 5 ข้อ
                                                       วันอังคาร ชุดที่ 2 การจำแนกประเภท 5 ข้อ
                                                       วันพุธ ชุดที่ 3 การสื่อสาร 5 ข้อ
                                                       วันศุกร์ ชุดที่ 4 การลงความเห็น 5 ข้อ
  สำหรับระยะเวลาในการทดลองใช้ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือวันจันทร์วันพุธ และวันศุกร์ วันละ 30 นาที รวม 24 ครั้ง ทำการทดลองในช่วงเวลา 09.00 - 09.30 น.
โดยมีขั้น ตอนดังนี้
1.จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
2.ผู้วิจัยทำการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest)ก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 4 วัน และบันทึกผลของข้อมูลในแต่ละข้อของเด็กแต่ละคนเพื่อนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บเป็นคะแนนข้อมูลพื้นฐานชุดที่ 1
3.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ ในระยะเวลาระหว่าง 09.00 - 09.30 น. ของวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2550ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2550 ผู้วิจัยดำเนินขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตามตาราง 3ดังนี้

การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ ดังนี้
1. หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลัง การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้งภาพรวมและจำแนกรายทักษะ โดยใช้ค่าแจกแจง t แบบ Dependent Samples

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาความเที่ยงตรงของแบบประเมินโดยใช้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับพฤติกรรม (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543 : 117) ดังนี้
2. หาค่าความยากง่าย (Difficulty) ของแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็ก
3. การหาค่าอำนาจจำแนกโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์แบบพอยท์ - ไบซีเรียล (Point biserial correlation)
4.  หาค่าความเชื่อมัน่ ของแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของด็กปฐมวัย โดยใช้สูตร KR - 20 ของคูเดอร์ - ริชาร์ดสัน (Kuder - Richardson)

สรุปผลการวิจัย
1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะคือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือทักษะการจำแนกประเภท
2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป 1. วิธีการเลือกชุดแบบฝึกทักษะ ควรพิจารณารูปภาพประกอบที่ดูเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนเป็นภาพขนาดใหญ่ และภาพในหน้าด้านซ้ายกับด้านขวาของชุดแบบฝึกทักษะ ไม่ควรเป็นภาพเดียวกัน ซึ่งมีคำชี้แจงหรือคำสั่งที่แตกต่างกัน เพราะจะทำให้เด็กสับสน เนื่องจากเด็กวัย 4 - 5 ปีบางคน ยังไม่รู้จักตัวเลขที่ระบุอยู่บนหน้ากระดาษของแบบฝึกทักษะ
2.ศึกษาชุดแบบฝึกทักษะเพื่อกำหนดหัวเรื่องตามมโนทัศน์ของแต่ละแบบฝึกทักษะที่จะนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ชัดเจนก่อนการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะตามการวิจัยนี้ครูควรให้ความสำคัญในการวางแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่กำหนดไว้ทั้งเนื้อหาสาระและพัฒนาการเด็ก
4. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะตามการวิจัย ครูจำเป็นต้องคิดและวางแผนการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับอายุและสิ่งที่เด็กควรรู้ตามหลักสูตรการศึกษาอย่างหลากหลาย โดยจัดอย่างเหมาะสมกับบริบททางสังคมของเด็ก และใช้แบบฝึกทักษะเป็นตัวทบทวนหรือย้ำการเรียนรู้
5. การจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบชุดแบบฝึกทักษะต้องมีจำนวนเพียงพอกับจำนวนเด็กที่ทำกิจกรรม ซึ่งมีคำอธิบายในแต่ละเรื่องของแบบฝึกทักษะที่กำหนดไว้ให้เป็นต้นแบบแล้ว โดยเฉพาะสื่อของจริงมีความหลากหลายทางด้านรายละเอียดรูปร่าง รูปทรง ผิวสัมผัส กลิ่น สี รสชาติ ซึ่งจะมีผลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี
6. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ ครูต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยจัดให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยความคิด แสดงออก การทำกิจกรรมกลุ่ม ได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง และรู้ความก้าวหน้าของตนเอง
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป  1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการสอนที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะกับรูปแบบการสอนอื่นๆ ที่พัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2.ควรมีการศึกษาการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะด้านอื่นๆเช่น ด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษาไทย ด้านภาษาอังกฤษ ว่าสามารถส่งผลต่อตัวแปรด้านใดด้านหนึ่งของเด็กปฐมวัยหรือไม่
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป  3. ควรมีการศึกษาเชิงสำรวจเกี่ยวกับค่านิยมหรือความต้องการในการเลือกซื้อชุดแบบฝึกทักษะด้านต่างๆ มาสอนลูกที่บ้านของผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
4. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปกติกับการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ







วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเรียนชดเชย


การเรียนชดเชย


 วันที่ 29 กันยายน 2556
 เวลาเรียน 09.00น. - 12.20 น.
 เวลาเข้าสอน 09.00 น.  เวลาเข้าเรียน 09.15น.
 เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

บรรยากาศในห้องเรียน (Atmosphere in cassroom)

       วันนี้เป็นการเรียนชดเชย เพื่อนมาเรียนกันค่อนข้างมากเพราะว่าเป็นการเรียนครั้งสุดท้ายเเล้วในภาคเรียนนี้ และเป็นวันที่อาจารย์นัดส่งงานทุกชิ้นที่ยังค้างคากับอยู่  งานที่จะต้องส่งคือ สื่อเข้ามุม สื่อของเล่น การทดลอง เพื่อนเเต่ละคนเลยเตรียมอุปกรณ์ต่่งๆมาทดลองภายในห้องส่วนอีก 2 อย่าง อาจารย์ให้ทำมาเองจากบ้าน
การเรียน การสอน (Teaching)
  • อาจารย์ให้ออกมานำเสนอการทดลองโดยเป็นสาธิตการสอน
  • อาจารย์จะเเนะนำทีละคนเพื่อการปรับปรุง

องค์ความรู้ใหม่ ( New knowledge )

  • วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยสามารถปลูกฝังให้เด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ตั้งเเต่เด็ก
  • การไปดูงานทำให้เรารู้ว่าการเรียนเป็นครูปฐมวัยไม่ใช่ว่าจะเป็นครูได้ในเฉพาะในระบบเท่านั้น
  • การลิ้งค์บล็อกสามารถลิ้งค์ได้หลากหลาย เเละความรู้ก็ได้มาจากการลิ้งค์ ไม่จำเป็นที่จะต้องมาเสียเงินไปกับการถ่ายเอกสาร 
  • การทดลองภูเขาไฟระเบิด เกิดจาก ผงฝูกับน้ำส้มสายชูเกิดปฎิกิริยากัน ทำให้เกิดเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ดันน้ำส้มที่ผสมกับสีผสมอาหารไหลออกมาเเละเกิดเป็นควัน ตล้ายกับขวดเป่าลูกโป่ง ( การทดลองของเพื่อน)
  • การทดลองเทียนดับ เกิดจากในเเก้วมีออกซิเจน ออกซิเจนจะหมดไปเพราะเอาไปใช้ในการเผาไหม้ น้ำเลยเข้าไปแทนที่ เทียนเลยดับ  ( การทดลองของเพื่อน)
  • ทดลองกรด การที่น้ำดอกอัญชันมีการเปลี่ยนสีจากน้ำเงิน เป็นม่วงเพราะว่า น้ำดอกอัญชันเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สามารถวัดกรดได้ เมื่อหยดน้ำมะนาวลงไปในน้ำดอกอัญชันจากน้ำเงิน กลายเป็นม่วง เพราะว่าน้ำมะนาวเป็นกรด ( การทดลองของเพื่อน)
จะเอาไปใช้อย่างไรApplying)

  • นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
  • ทำให้เรามีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
  • คำถามที่จะใช้ถามให้เด็กเเสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เชิงวิทยาศาสตร์ จะช่วยในการนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์

งานที่ต้องรับผิดชอบ(Tasks assigned)
  • โพสงานลงบล็อกให้เรียบร้อย 


สรุปรูปภาพการนำเสน





เหตุผลที่เกิดเช่นนี้ คือ ในรอบๆตัวเรามีอากาศ หรือออกซิเจน ในขวดก็มีออกซิเจนเช่นกัน เมื่อเราเอากระดาษที่จุดไฟเเล้วใส่ลงไปในขวด การเผาไหม้จะเอาออกซิเจนไปใช้ ทำให้ข้างในขวดไม่มีอากาศ อากาศข้างนอกที่มีมากกว่าเลยดันไข่เข้าไป