by www.zalim-code.com

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Learning No.7

  การเข้าเรียน ครั้งที่ 7


วันที่ 24 กรกฎาคม 2556 เวลาเรียน 08.30น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 09.00 น.  เวลาเข้าเรียน 08. 15 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

บรรยากาศในห้องเรียน (Atmosphere in cassroom)

       วันนี้อาจารย์ติดธุระที่หอประชุมเลยมาข้านิดหน่อยแค่อาจารย์ก็มาสอนเราด้วยความตั้งใจเพราะอาจารย์คิดว่าในเมื่อเราตั้งใจมาเเล้วเราก็ควรที่จะได้รับอะไรกับไปไม่มากก็น้อย เเต่เพื่อนนี่ศิมาเรียนเเต่ละครั้งจะมาเพื่อให้ผ่านๆไปหรืออย่างไรก็ไม่รู้ เลยทำให้จุดมุ่งหมายมีความเเตกต่างกัน


การเรียน การสอน (Teaching)

- ในสัปดานี่อาจารย์พยายามจะสรุปสิ่งที่เราได้เรียนมาในก่อนหน้านี้ทั้งหมด เพื่อความเข้าใจที่ดีกว่าเดิม อาจารย์ได้อธิบายไปทีละขั้นตอนอย่างช้าๆ สลับกับการถามความเข้าใจกับนักศึกษา
- อาจารย์เปิดโทรทัศน์ครูให้ดูในเรื่อง การจัดประสบการณ์เเบบโครงการ ของโรงเรียน

องค์ความรู้ใหม่ ( New knowledge )

- จากการที่ได้ดูโทรทัศน์ครู สิ่งที่ได้รับคือ  การเรียนเเบบโครงการ  เป็นการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึก
 - ขั้นตอนในการเรียนเเบบโครงการมี 5 ขั้นตอน 
  1. อภิปราย
  2. นำเสนอประสบการณ์เดิม
  3. ทำงานภาคสนาม
  4. สืบค้น
  5. จัดเเสดง
การเรียนเเบบโครงการ 
- ความอยากรู้ อยากเห็นเกิดจากสิ่งที่ไม่เคยรู้ 
- เราเรียนวิทยาศาสตร์เพราะ เป็นมาตรฐาน จะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

จะเอาไปใช้อย่างไรApplying)

  • นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
  • ทำให้เรามีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
  • สำหรับการสรุปความรู้ด้วยตนเองนั้นผู้เรียนจะต้องนำความรู้เดิมและความรู้ใหม่มาเชื่อมโยงกันอย่างสมเหตุสมผลอันจะนำไปสู่ข้อสรุปที่เป็นความเข้าใจของตนเอง    วิธีการเชื่อมโยงความรู้เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ การเขียนแผนที่ความคิด (Mind Map)

งานที่ต้องรับผิดชอบ (Tasks assigned)
- ทำผังความคิดในการเรียนวันนี้ให้เรียบร้อย เเล้วโพสลงบล็อก
























วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Learning No.6


การเข้าเรียนครั้งที่ 6


วันที่ 17 กรกฎาคม 2556
 เวลาเรียน 08.30น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน -  เวลาเข้าเรียน -






ค้นหาความรู้เพิ่มเติม



การเกิดฝน





งานที่นำเสนอ การทดลองสำหรับเด็ก

ชื่อว่า ขวดดูดไข่ 

อุปกรณ์

 -    ไข่ที่ต้มเเล้ว 1 ฟอง    
 -    ขวดเเก้ว 1 ใบ
 -    กระดาษเศษ
 -    ไฟเเช็ค                                 




วิธีทำ

  • ปอกไข่ให้เรียบร้อย
  • จุดไฟใส่กระดาษเเล้วทำให้ดับ เอาลงไปในขวด จะเกิดควันขึ้นมา
  • นำไข่ไปวางไว้ปากขวด
  • ไข่จะค่อยๆไหลลงไปในขวด

                                                       หลักการวิทยาศาสตร์

      ปกติในขวดจะมีอากาศ คือ ออกซิเจน เมือเวลาเราจุดไฟ แล้วทิ้งลงขวด ไฟก็เผาเอาออกซิเจนไปใช้งาน อากาศที่เป็นออกซิเจนข้างในก็หายไป เมื่อเราเอาไข่ไว้ข้างบน แรงดันอากาศที่อยู่ข้างนอกก็จะพยายาม สร้างความสมดุล คือการทำข้างนอกกับข้างในให้เท่ากัน แล้วอากาศก็จะดันไขลงไป



                    ออกซิเจนติดไฟได้อย่างไร 


        ออกซิเจนมีคุณสมบัติใส ไม่มีกลิ่น และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเผาไหม้ ถ้าทำปฏิกิริยากับเชื้อเพลิงก็จะเกิดการลุกไหม้และจะให้พลังงานความร้อนออกมา 
หากไม่มีออกซิเจนการเผาไหม้ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้












งานที่นำเสนอ ของเล่นสำหรับเด็กที่ทำร่วมกัน

ชื่อว่า  ภาพหมุน

วัสดุ  อุปกรณ์ดูได้จากVDO ข้างล่างได้เลยค่ะ












วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Learning No. 5

  การเข้าเรียน ครั้งที่ 5


วันที่ 10 กรกฎาคม 2556 เวลาเรียน 08.30น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น.  เวลาเข้าเรียน 08. 15 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


บรรยากาศในห้องเรียน (Atmosphere in cassroom)

           ในห้องเรียนก็เป็นตามปกติคนคุยก็คุย คนตั้งใจเรียนก็ตั้งใจเรียน แต่คุยมากก็รบกวนอาจารย์เเละเพื่อนที่เขาพยายามที่จะตั้งใจฟัง วันนี้เราได้เห็นสิ่งหใม่ๆที่หลากหลายเเละบางอย่างก็เเปลกตาไม่เคยเห็น คือมีการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ เเต่สิ่งที่นำเสนออาจารย์บอกว่าไม่ตรง Objective  แต่ก็ไม่ได้ผิดอะไร เเค่เราต้องไปคิดมาใหม่ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ อาจารย์จะพยายาม Comment เพื่อที่จะให้เพื่อนๆนำผลงานตนเองไปเเก้ไข เเละเพื่อการ Present ในครั้งต่อไป


การเรียน การสอน (Teaching)


  • อาจารย์ให้นำสื่อของเล่นนำมาเสนอ โดยการร่างรูปแบบให้พอเข้าใจเเต่อย่าลืมหลักวิทยาศาสตร์ด้วย
  • งานเเต่ละชิ้นอาจารย์จะพยายาม  Comment เพื่อที่จะให้เพื่อนๆนำผลงานตนเองไปเเก้ไข เเละเพื่อการ Present ในครั้งต่อไป
  • อุปกรณ์ที่จะนำทำสื่อเเต่ละชิ้นนั้นต้อง ประหยัด หาง่ายเหมาะกับเด็กไม่เป็นอันตราย
  • อาจารย์ให้ดูรูปสื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นเเนวทางในการทำสื่อของเราต่อไป
องค์ความรู้ใหม่ ( New knowledge )

  • เดซิเบลคือหน่วยของเสียง
  • เสียงที่เหมาะสมสำหรับวัยเบบี๋คือเสียงที่ดังไม่เกิน 75-80 เดซิเบล เทียบเท่ากับเสียงที่เราได้ยินในชีวิตประจำวัน แต่เสียงที่เด็กๆ ไม่ควรได้ยิน คือ เสียงเครื่องจักรทำงาน เสียงเพลงที่ดังมากเกินไป เสียงพลุ เป็นต้น
  • ครูมีบทบาทในเรื่องของสื่อคือ การเตรียมอุปกรณ์ต่าง สำหรับการทดลอง
  • น้ำเป็นสถานะของเหลว เเละจะเปลี่ยนไปตามภาชนะ
  • การทำกระป๋องเขย่าเสียงหากเรามีวัตถุ ที่หลากหลาย เด็กจะได้เรียนรู้ เสียงที่เเตกต่างและมากมาย
  • วัตถุที่เเตกต่างกัน จะก่อให้เกิดเสียงที่ต่างกันออกไป
จะเอาไปใช้อย่างไร( Apply)

  • การคิดของเล่นที่สามารถพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • การพูดที่เเสดงเห็นถึงความคิดที่อยู่ข้างในของเรา
  • ประยุกต์ ดัดแปลง ของเล่น การทดลอง ที่จะสามารถนำมาจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้
  • เข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
งานที่ต้องรับผิดชอบ 


  • ให้ไปคิด  ของเล่นที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ เเละการทดลองวิทยาศาสตร์ อย่างละ 1 ชิ้น นำเสนอในสัปดาห์หน้า
  • ให้ไปลองศึกษาว่า ทอดกับนึ่งต่างกันอย่างไร

ทอดกับนึ่งต่างกันอย่างไร



วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Learning No. 4


       การเข้าเรียน ครั้งที่ 4

วันที่ 3 กรกฎาคม 2556 เวลาเรียน 08.30น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น.  เวลาเข้าเรียน 08. 15 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


บรรยากาศในห้องเรียน (Atmosphere in cassroom)


วันนี้อาจารย์เดินเข้ามาในห้องเรียนเหมือนรู้สึกเหนื่อยๆ เป็นเพราะว่าเมื่อวานนี้อาจารย์ ไปร่วมพิธีพระราชปริญญาบัตร ที่สวนอัมพรมา เพื่อนในห้องก็ยังคุยกันเสียงดังเหมือนเคย ไม่มีการปรับปรุงตัวเองเลย ในหลายเรื่องที่อาจารย์ไม่อยากพูดแต่นักศึกษาก้ทำให้อาจารย์ได้พูด เช่น การเเต่งกายที่สุภาพเรียนบร้อยเข้าห้องเรียน เรื่องการเล่น ใช้โทรศัพท์ในห้องเรียน เรื่องขยะ เรื่องการส่องกระจก เป็นต้น ทำให้บางครั้งอาจารย์ก็ต้องเตือน จนทำใหเสียบรรยากาศในการเรียน


การเรียน การสอน (Teaching)

  • อาจารย์เอาของเล่นวิทยาศาสตร์ชิ้นหนึ่งมาให้นักศึกษาทุกคนลองดู     ว่าเมื่อเด็กเอาไว้เล่น  จะเกิดอะไรขึ้นเพื่อนๆต่างก็เเสดงความคิดเห็นร่วมกัน 
  • หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายสรุปถึงของเล่นที่อาจารย์เอามา ว่า เมื่อเราส่องเข้าไปในรูนั้นเราจะไม่สามารถมองเห็นลูกปิงปองได้ เเต่เมื่อเเสงเข้าทากระทบกับวัตถุทำให้เรามองเห็นวัตถุนั้นได้ 
  • ดู วีดีโอ เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ
  • อธิบายเพิ่มเติม ถามเพื่อให้นักศึกษาเเสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ วีดีโอ ที่เราดู
  • อาจารย์ให้ทำกิจกรรม จับเวลา 1 นาที ให้เขียนสรุปความรู้ที่เราได้จากการดู วีดีโอ เพราะจากการที่อาจารย์ได้สังเกต อาจารย์ยังเห็นคนที่ เล่นโทรศัยท์ ส่องกระจก คือไม่สนใจ ไม่ตั้งใจดู เลย เเละยังไม่มีการบันทึกอีกด้วย พอหมดเวลาอาจารย์ก็เก็บทันที ให้วางปากกา ใครไม่ส่งก็คือไม่ส่ง อาจารย์ไม่รับเเล้ว
  • อาจารย์ได้อธิบายว่าในเวลาที่จำกัด การที่จะสรุปองค์ความรู้นั้นเราจะต้องใช้ การนำเสนอแบบผังความคิด เพื่อที่จะทำให้เราได้หัวข้อที่สำคัญ หมดทุกหัวข้อ หากเรามัวมานั่งเขียน บรรยายอยู่  ก็จะไม่ได้ทันเวลาที่กำหนด หากเป็นเวลาสอบ ก็จะสำคัญมากเลยทีเดียวหากเสร็จไม่ทันเวลา  คะเเนนที่ได้ก็จะน้อยตามมาอย่างเเน่นอน ฉะนั้นเราก็ควรที่จะเลือก รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมให้มากที่สุด
  • อาจารย์เเจกกระดาษเอสี่ในห้องเเล้วพับให้ได้ 8ส่วนที่เท่ากัน เเล้วเอาเเม็กเย็บมุม วาดภาพอะไรก้ได้ลงไปในเเต่ละเเผ่นที่ภาพมีความสอดคล้องกัน เเล้วเปิดดูสิ่งที่ปรากฎขึ้น
องค์ความรู้ใหม่ ( New knowledge )


  • การที่เรามีความรู้เรื่องน้ำ ไม่ใช่เเค่การที่เรามีเพื่อประดับสมองเท่านั้น เเต่ความรู้นั้น เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ก็จะก่อให้เกิดสิ่งที่มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ดังที่จะเห็นได้จากการดู  VDO  คือ   การนำเอาเรื่องคุณสมบัติของน้ำมาเป็นความรู้ในเรื่องของการทำเขื่อน ที่ทำให้ด้านล่างของเขื่อนมีความหนา เพระาว่าน้ำยิ่งมีความลึก ยิ่งมีความดันมาก ที่ต้องทำหนาเพื่อที่เขื่อนจะได้ไม่พัง
  • ในเรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ เราสามารถนำเอาความรู้ในเรื่องคุณ สมบัติของน้ำมาทำเป็นของเล่นได้
  • ในเรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ  ยังมีงอค์ประกอบหนึ่งที่ขาดหายไป หากมีสิ่งนี้จะทำให้  VDO เรื่องนี้มีความสมบูรณ์มากคือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
จะเอาไปใช้อย่างไร


  • หากเรามีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องน้ำนี้ ก็จะทำให้เรามีความรู้เพิ่มมากยิ่งขึ้น เเละสามารถนำมาบูรณาการในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี
  • การดู VDO หาเราดูเเล้วสามารถนำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวันได้ก็จะเป็นการดี

งานที่ต้องรับผิดชอบ
  • ให้ไปหากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มา
  • สรุปองค์ความรุ้ที่ได้จากการดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ
  • บันทึกสิ่งที่ได้รับ องค์ความรู้ใหม่  งานที่ต้องรับผิดชอบ บรรยากาศ ลงบล็อกให้เรียบร้อย เเละเป็นปัจุบัน
  • หาหลักวิทยาศาสตร์ที่ทำให้ภาพเกิดการต่อเนื่องกัน เป็นเพระาอะไร




งานที่นำเสนอของเล่นตามมุม
ขวดหนังสติ๊ก
อุปกรณ์
-          ขวดพลาสติกใหญ่ 1 ขวด
-          ขวดพลาสติกเล็ก 1 ขวด
-           หนังยาง 2 เส้น
-          เชือก                                
 -          ตะเกียบหรือกระดาษที่พันแบบแน่นๆ ขนาดเล็ก 1 อัน
วิธีทำ
1.  เจาะรูที่ ฝาขวด 2 ฝา ทั้งฝาขวดเล็ก และฝาขวดใหญ่
2.  นำขวดใบเล็กมาตัดเอาแค่ส่วนหัว
3.   เจาะรูด้านข้าง ทั้ง 2 ข้าง  แล้วเอาหนังยางร้อยทั้ง 2 ข้าง
4. ร้อยเชือกเข้าไปในฝากขวดเล็กแล้วหมุนกลับเข้าไปกลับตามเดิม         ดังภาพ


5.   นำขวดใหญ่มาตัดก้นออกเพียงเล็กน้อยหลังจากนั้นก็ ก็เจาะรูในจุดที่เอาปากกาทำเป็น
เครื่องหมายไว้2 รู ให้เจาะตรงข้ามกัน  ดังภาพ

  6. จากนั้นเอาเชือกที่ร้อยฝาขวดเล็ก เอามาร้อยใส่ฝาขวดน้ำใหญ่ ร้อยให้ไปทางเดียวกัน ปิดฝาขวดใหญ่ให้เรียบร้อยแล้วมัดปมด้วยกระดาษหรือตะเกียบบนฝาขวดน้ำ
7.   เอาหนังยางที่มัดไว้ในขวดเล็ก มาจับให้ตรงกันกับรูที่เจาะไว้ในขวดใหญ่มาสอดเข้าไปด้วยกัน
      ทำทั้ง 2 ข้าง ดังภาพ
8.   จากนั้นเอาเชือกมามัดตรงหูทั้ง  2 ข้างแล้วมัดรอบขวดเพื่อความแข็งแรง

วิธีการเล่น  ขยำกระดาษให้พอเหมาะเท่ากำมือเราก็ได้ ใส่ลงไปในขวดอันเล็ก เเละดึงปลายเชือก ไปด้านหลังเเรงๆ แล้วปล่อยมือ
   
หลักการวิทยาศาสตร์ ขวดหนังสติ๊กอาศัยการถ่ายเทพลังงาน เมื่อเราดึงเชือกไปด้านหลัง จะเกิดการสะสมพลังงานศักย์ในเส้นยางหนังสติ๊ก เมื่อเราปล่อยมือพลังงานศักย์ที่สะสมจะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ ถ่ายให้กับขวดใบเล็กและกระสุน ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปด้านหน้า เมื่อขวดใบเล็กเคลื่อนที่ผ่านปากขวดใบใหญ่ จะถูกรั้งให้หยุดด้วยหนังสติ๊ก พลังงานจลน์ก็จะถ่ายเทให้กับกระสุน ส่งผลให้กับกระสุนวิ่งตรงไปด้านหน้า