by www.zalim-code.com

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Learning No.3

                            การเข้าเรียน ครั้งที่ 3

วันที่ 26 มิถุนายน 2556 เวลาเรียน 08.30น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 09.30 น.  เวลาเข้าเรียน 08. 35 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

บรรยากาศในห้องเรียน (Atmosphere in cassroom)

   อาจารย์ติดเปิดงาน เลยทำให้อาจารย์เข้าสอนช้าไปหน่อย หนูเลยโทรหาอาจารย์  อาจารย์บอกว่า จะขึ้นมาสอนอีกสักครู่ เเต่ระหว่างนั้นให้ไปเอา CD เรื่อง ความลับของเเสงมา เปิดให้เพื่อนดู เเละให้จดเอาสิ่งที่สำคัญ เเละให้ดูว่ากิจกรรมการทดลองที่เขาทำเขาทำอย่างไรบ้าง เพื่อนๆก็ดูเเละจดไปด้วย บางคนก็ถ่ายรูป ถ่าย VDOไว้บ้าง พักหนึ่งอาจารย์ก็เข้ามาสอนตามปกต าอจารยืเดินเข้ามาอย่างเงียบ คงไม่อยากรบกวนสมาธิของนักศึกษาที่ดู CD อยู่


การเรียน การสอน (Teaching)

  •  จดสิ่งที่สำคัญที่ได้จากการดู CD เรื่อง ความลับของเเสง
  •  อาจารย์อธิบายว่ากิจกรรมที่เขาทำในเรื่องนี้มีอะไรบ้าง หัวข้อที่สำคัญนั้นมีอะไรบ้าง ใจความที่สำคัญรองลงมามีไร พร้อมทั้งให้นักศึกษาเเสดงความคิดเห็น
  • อาจารย์ได้ถามถึงงานในสัปดาห์ที่เเล้วที่รูปแบบการนำเสนอกลุ่มใดที่ไม่ถูกต้อง ให้นำเสนอใหม่ เเต่ไม่มีกลุ่มใดทำมาเลย อาจารย์เลยอธิบายเอง
  • หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้สั่งงาน จากการดู CD เรื่องความลับของเเสง 

องค์ความรู้ใหม่ ( New knowledge )
  • ทักษะคือการนำไปใช้ อย่างเช่นเราดู CD เรื่องความลับของเเสงเเล้ว ในเนื้อหาที่เราดู ก็สามารถนำกิจกรรมการทดลองมาจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ นี่เเหละคือสิ่งสำคัญของการมาเรียนเพื่อนำความรู้ไปใช้
  • การทดลองที่เราเห็นใน CD เรื่อง ความลับของเเสงนี้เราต้องรู้จัก การดัดแปลง การประยุกต์ เพื่อที่จะนำความรู้นี้ไปใช้กับเด็กได้ เพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • หากเราจะจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก เราควรที่จะพอมีพื้นฐานความรู้มาบ้าง อาจจะไม่ต้องลึกมากก็ตาม
  • เมื่อขณะที่เด็กได้คิด เส้นใยสมองของเด็กก็จะเชื่อมต่อกัน
งานที่ต้องรับผิดชอบ
  • ทำมายเเมพจากเรื่อง ความลับของเเสงที่เราได้ดูมาเเล้ว หัวข้อใหญ่เช่น ความหมาย ความสำคัญ คุณสมบัติ  การทดลอง เสร็จเเล้วให้โพสขึ้นบล็อก

ผลงานของห้องเรา





วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Learning No. 2

        การเข้าเรียนครั้งที่ 2

วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2556   เวลาเรียน  08.30น.- 12.20น.
เวลาเข้าสอน 08.30น. -  12.20น.เวลาเข้าเรียน 0830น. -  12.20น.



บรรยากาศในห้องเรียน (Atmosphere in cassroom)


  • วันนี้เพื่อนค่อนข้างที่จะทยอยกันเข้ามาเรียนทำให้บางครั้งไม่ค่อยจะมีสมาธิในการเรียนสักเท่าไหร่ การสอนจะมีทั้งการบรรยาย(Describe) ผสมกับการ เเสดงความคิดเห็นบ้าง เเละวันนี้อาจารย์ได้ให้มีการจับกลุ่มเพื่อร่วมกันอ่าน วิเคราะห์ เเละสรุปเนื้อหาที่ได้อ่าน  การพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปนั้นก็ก็ยังไม่เป็นไปตามที่ต้องการเท่าไหร่เพราะตามที่สังเกตนั้นหบังจากที่ได้ใบความรู้เเล้วทุกคนต่างก้มหน้า ก้มตาจดอย่างเดียวเลย การจับกลุ่มต้องหันโต๊ะเจ้าหากันค่อนข้างที่จะเสียงดังเพราะต่างคนก็ต่างลากโต๊ะทั้งๆที่อาจารย์ก็ได้พูดว่าให้ยกเอาอย่าลาก สภาพอากาศในห้องก็อากาศดีมากเหมาะกับการเรียน การสอน เป็นอย่างมากเลยทีเดียว 

การเรียน การสอน (Teaching)


  • อาจารย์ให้เพื่อนลิ้งค์บล็อกเพื่อเวลาที่อาจารย์ตรวจจะได้ไม่มีปัญหา
  • จากนั้นอาจารย์ให้เเบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน เพื่ออ่านในสิ่งที่อาจารย์กำหนดให้ ใน6 หัวข้อดังนี้
                                                            1. ความหมายวิทยาศาสตร์
                                                            2. ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
                                                            3. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
                                                            4. การเรียนรู้
                                                            5. เเนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                                                            6. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 นักศึกษาเเต่ละกลุ่ม ศึกษาสิ่งที่ได้รับมอบหมาย อย่างเข้าใจ หลังจากนั้น ก็ให้ไปเอาองค์ความรู้ของเเต่ละกลุ่ม ในเรื่องที่ตนเองรับผิดชอบ  สรุปได้ทั้งหมด 6 กลุ่ม เเละนำมานำเสนอในรูปแบบตามความเหมาะสม เพื่อที่จะหาความเหมือน เเละความต่างออกมานำเสนอ เเต่ละกลุ่ม

องค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้นNew knowledge )

  • กระบวนการดูดซึม ( assimi tation ) คือ
  • ความหมายวิทยาศาสตร์ คือ สิ่งเเวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา กระบวนการได้มาซึ่งความรู้ อย่างมีเหตุ มีผล มีระบบ ระเบียบ 
  • ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
  • พัฒนาการด้านสติปัญญา ความสามารถในการคิด 
  • การเรียนรู้ การเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรม 
  • เเนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  • กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การนำไปประยุกต์ใช้
  • การศึกษา ค้นคว้า เพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่ออนาคตเราจะได้นำไปจัดประสบการณ์ให้กัยเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
  • ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อเป็นความรู้สำหรับเราเอง

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Learning No. 1

    การเข้าเรียนครั้งที่ 1


วันพุธที่ 13 มิถุนายน 2556   เวลาเรียน  08.30น.- 12.20น.

เวลาเข้าสอน 09.00น. -  12.20น.เวลาเข้าเรียน 08.15น. -  12.20น.

บรรยากาศในห้องเรียน (Atmosphere in cassroom)


วันนี้เป็นการเข้าเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
นี้เป็นครั้งเเรกเเต่เคยเรียนกับอาจารย์ในหลายเทอมที่เเล้ว  เเต่ก่อนที่จะมีการเรียน การสอนาอจารย์เเละนักศึกษาต้องมีการร่วมกันสร้างข้อตกลง เพื่อเป็นเเนวทางในการปฎิบัติตัวในการเรียนวิชานี้ จะได้ไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลังหรือระหว่างการเรียน

การเรียน การสอน(Teaching)


-      อาจารย์ได้ให้คนที่ยังติด  I มาติดต่ออาจารยืเพื่อที่จะได้เเก้ให้เป็นเกรด เพราะถ้าหากปล่อยไว้ I ตัวนี้จะกลายเป็น F ทันทีหัลงจากหนึ่งเทอมไปเเล้ว เเละอาจารย์ได้ถามเพื่อนด้วยความเป็นห่วงว่าเกรดรวมทั้งหมดถึงไหมดพราะกลัวเพื่อนเกรดไม่ถึง
-       อาจารย์เเนะนำ Course syllabus 
-  จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทุกคนเเสดงความคิดเห็นว่าวิชาที่เคยเรียนในภาคเรียนที่เเล้วคือวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีควาเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง
-   จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงรายละเอัยด หัวข้อต่างๆที่จะต้องใส่ลงไปในบล็อกเพื่อที่จะไม่ทำให้เราไม่ต้องใส่อะไรที่มันไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนในวิชานี้ เเละพยายามเขียนหัวข้อใหญ่ให้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อที่จะให้เราได้เรียนรู้ไปเรื่อยๆ เพราว่าเรื่องของภาษานั้นมีความสำคัญต่อเราเป้นอย่างมาก เเต่รายละเอียดทั้งหมดสามารถศึกษาได้จาก  Course syllabus ได้เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น
- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาร่วมกันเเสดงความคิดเห็นว่า การทำบล็อกจะส่งผลต่อการเป็นครูในอนาคตอย่างไรบ้าง
-       วันนี้อาจารย์ได้สอนพวกเราเเบบบรรยาย
-  งานที่อาจารย์ที่ให้เราทำนั้นจะเป้นการประเมินเราซึ่งมีความสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้/ความคาดหวัง

-      
ข้อตกลงร่วมกัน ( Agreement )

'' เครื่องเเต่งกายอาจารย์จะไม่มีตักเตือนเเล้วเเต่จะหักคะเเนนทันทีที่ไม่เป็นระเบียบ''

- เรื่องรองเท้าต้องเป็นสีดำล้วน หากมีฝนตกก็สามารถใส่รองเท้าเเตะได้เเต่ต้องเอารองเท้าคัชชูมาเปลี่ยนก่อนเข้าตึกคณะ
-      การใส่เสื้อทับข้างในเพื่อความเรียบร้อย เสื้อทับ เเละเสื้อชั้นในต้องเป็นสีขาวเท่านั้น   เสื้อนักศึกษาที่ไม่เเน่นจนเกินไป เเละต้องติดกระดุมของมหาวิทยาลัย ติดตุ้งติ้ง เข็มให้เรียบร้อย
-       กระโปรงควรที่จะต้องยาวคลุมเข่า
-       เข็มขัดต้องเป็นหัวของมหาวิยาลัย เส้นเข็มขัดต้องเป็นสีดำ
-       ทรงผมต้องสุภาพ ถ้ายาวก็ควรที่จะรวมให้เรียนร้อย
-        อาจารย์พูดถึง การที่มีสมุดจดบันทึก 
-        มาเรียนเกิน 15 นาทีถือว่าสาย มาสาย 3 ครั้งถือว่าขาด 1 ครั้ง
-        ไม่ใช้โทรศัพเครื่องมือสื่อสารในห้องเรียน
-        อาจารย์จะปล่อยก่อน 30 นาทีเพื่อที่จะให้นักศึกษาไปทำบล็อก จะได้ไม่มีปัญหาว่ากลับบ้านไปไม่มีเน็ท ไม่มีคอม เพราะที่มหาลัยก็สามารถทำได้เลยหัลงจากที่อาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเเล้ว

องค์ความรู้ใหม่ ( New knowledge )

-     การที่จะเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ต้องมีภาษา เเละคณิตศาสตร์ เข้ามาเกี่ยวข้องเเละเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
- การทำบล็อกจะส่งผลต่อการเป็นครูอนุบาลในอนาคตอย่างไร ?  เป็นเเนวทาง การวางเเผน การออกแบบสื่อเผื่อเรามีโอกาสได้ทำสื่อการเรียน การสอนทางเทคโนโลยี
-       ทำไมเราต้องมีการลิงค์กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ?  เพื่อที่จะทำให้เราได้รับความรู้ที่กว้างขึ้น ที่นอกเหนือจากในห้องเรียน อาจจะเป็นความรู้ที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน หรือเป็นความรู้ที่เราเคยรู้มาเเล้วเเต่เป็นการรู้ที่กระจ่างมากยิ่งขึ้น
-        สสวท. คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-        สวทช. คือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
-         มาตรฐาน  (What are standards) คือ  "ลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เห็นพ้องร่วมกัน เพื่อใช้เป็นกฏ, แนวทาง หรือ คำนิยามของคุณลักษณะต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า วัตถุดิบ, ผลิตภัณฑ์, กระบวนการ หรือบริการต่างๆ เหมาะสมตามเป้าหมายที่ตั้งไว้”

ความคิดเห็น ( Comment )
  
    ในเมื่อเราเลือกที่จะมาเรียนคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย  เราก็ควรที่จะยอมรับในกฎระเบียบที่มีอยู่ เเละภาคภูมิใจในสิ่งที่เราเลือก เพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหา เราก็จะอยู่อย่างมีความสุข  อย่าให้เราเพียงคนเดียว ทำให้คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย ต้องดูไม่ดี    เพียงเพราะการเเต่งกายเลย
    

อื่นๆ ( Another )

        หลังจากที่ทราบถึงเเนวทางการเรียน การสอน งานที่จะได้ทำ เเละรายละเอียดหัวข้อการเรียนในวิชานี้ เราก็ควรที่จะวางเเผน การเรียน การทำงาน จัดตารางเวลาให้ลงตัวที่สุดจะได้ไม่ให้เกิดปัญหาการส่งงานไม่ทัน การเรียนไม่รู้เรื่อง เพราะเราจะได้ศึกษามาก่อนหน้านี้เเล้ว   เเละในวันนี้มีสิ่งที่ดีมาฝากสำหรับการเป็นครู