by www.zalim-code.com

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Learning No. 12



การเข้าเรียน ครั้งที่ 12


วันที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลาเรียน 08.30น. - 12.20 น.

ไปศึกษาดูงานนอกสถานที่

ไปศึกษาดูงาน ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ที่จังหวัดนครราชสีมา เเละโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่จังหวัดบุรีรัมย์ เราออกเดินมทางตั้งเเต่วันที่ 27-28 เดือนสิงหาคม

บรรยากาศในสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 
(Hard ice Demonstration atmosphere in Nakhon Ratchasima Rajabhat University)


เมื่อไปถึงมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา  ตื่นเต้นมากเเล้วคิดว่าจะเป็นเหมือนกับมหาวิทยาลัยเราหรือไม่ ตามที่เห็นก้มีทั้งเหมือนเเละต่างบ้าง อาจารย์ทุกท่านให้การต้อนรับเราดีมากๆ หลังจากนั้นอาจารย์เเต่ละคนก็ได้เเยกกันไปเพื่อที่จะพานักศึกษาไปดูน้องอนุบาลห้องต่างๆ

การจัดเรียน การสอน (Management of teaching and learning.)

การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย

                จัดการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546อยู่บนพื้นฐานบริบทของชุมชน สังคม และท้องถิ่นรอบตัวเด็ก โดยการเตรียมความพร้อมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้าน ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ด้วยการบูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม และนำนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย ใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาให้เต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน โดยการจัดการเรียนรู้ใช้กระบวนการคิดและกิจกรรมเป็นฐาน (Thinking and Activity Based Learning) เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่กล่าวว่า
๒. หลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัย
ช่วงอายุ   อายุต่ำกว่า 3 ปี และ ช่วงอายุ 3 - 5 ปี
ระยะเวลาเรียนขึ้นอยู่กับอายุเด็กที่เริ่มเข้ารับการอบรมเลี้ยงดูและรับการศึกษา                ระยะเวลาในการจัดการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย มีระยะเวลา 4 ปี การศึกษาแต่ละปีการศึกษามีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 36 – 38 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน ใน 1 วัน  จัดกิจกรรมตามตารางประจำวัน ดังนี้
 ตารางกิจกรรมประจำวัน
                07.00 – 08.00 น. รับเด็ก ตรวจสุขภาพ เข้าห้องน้ำ

                08.00 – 08.30 น. เข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ไหว้พระ  กายบริหาร
                08.30 – 09.00 น. กิจกรรมพัฒนาโรงเรียน ล้างมือ เข้าห้องน้ำ
                09.00 – 09.20 น. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                09..20 – 09.45 น. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
                09.45 – 10.00 น. พักรับประทานของว่างเช้า
                10.00 – 11.00 น. กิจกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมเสรี
                11.00 – 11.30 น. กิจกรรมกลางแจ้ง
                11.30– 12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
                12.00 – 14.30 น. นอนพักผ่อน
                14.30 – 15.00น. เก็บที่นอน ล้างหน้า รับประทานอาหารว่างบ่าย
                15.00 – 15.30 น. กิจกรรมเกมการศึกษา
                15.30– 16.30 น. เตรียมตัวกลับบ้าน (เลิกเรียน)
                หมายเหตุ  เวลาในแต่ละกิจกรรมอาจเปลี่ยนแปลงหรือยืดหยุ่นได้ตามกิจกรรมตามความเหมาะสม ซึ่งยึดเด็กเป็นสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความสนใจและความต้องการของเด็ก เช่น การศึกษานอกสถานที่หรือจัดกิจกรรมในโครงการ เป็นต้น

บรรยากาศในโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

(
Hard ice Demonstration atmosphere in Lamplaimat Pattana Scool )





เราเดินทางไปถึงโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ เวลาประมาณ 18.00น. รู้ศึกว่าอากาศที่นั้นเป็นธรรมมชาติมากจริงๆมีเเต่ต้นไม้ เขียวขจีไปหมด มองยังไม่เห็นว่าอาคารเรียนต่างๆอยู่ที่ไหน อากาศอย่างนี้ทำให้คิดถึงบ้านที่ศรีสะเกษมาก เรานอนค้างคืนกันที่นี่ อาหารที่นี่ก็อร่อยมาก มีเเตอาหารที่ถูกปากทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริกปลาทู ส้มตำ หมูทอด ต้มจืด เป็นต้น

ปรัชญาของโรงเรียน

"การศึกษาพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ " ( Education for complete human development)

สิ่งที่เเตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอบ
เป็นโรงเรียนที่ไม่เสียงระฆัง
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีดาวให้ผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ไม่ต้องใช้แบบเรียน
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีครูอบรมหน้าเสาธง
เป็นโรงเรียนที่ได้ได้จัดลำดับความสามารถของผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ครูสอนด้วยเสียงเบาที่สุด
เป็นโรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ร่วมกับลูก
เป็นโรงเรียนที่ทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
นวัตกรรม

จิตศึกษา เป็นรูปแบบนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นในโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาหรือโรงเรียนนอกกะลา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เพื่อให้เป็นแนวคิดและกระบวนการพัฒนาทั้งครูและเด็กให้เกิดการเรียนรู้และงอกงามด้านใน หรือ ความฉลาดด้านจิตวิญญาณ ปัญญาภายใน หรือ ความฉลาดด้านในหมายรวมถึงความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ SQ และความฉลาดทางด้านอารมณ์ EQ ซึ่งได้แก่ การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง (รู้ตัว) และผู้อื่น การเห็นคุณค่าในตัวเอง คนอื่น และสิ่งต่างๆ เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายและมีความหมาย การอยู่ด้วยกันอย่างภราดร ยอมรับในความแตกต่าง เคารพและให้เกียรติกัน การมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม อยู่อย่างพอดีและพอใจได้ง่าย การมีสติอยู่เสมอ รู้เท่าทันอารมณ์เพื่อให้รู้ว่าต้องหยุด หรือไปต่อกับ สิ่งที่กำลังเป็นอยู่ มีความสามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้ การมีสัมมาสมาธิ เพื่อกำกับความเพียรให้การเรียนรู้หรือการทำภาระงานให้ลุล่วง มีความอดทนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งต่างๆ นอบน้อมต่อสรรพสิ่งที่เกื้อกูลกันอยู่ การมีจิตใหญ่มีความรักความเมตตามหาศาล



จะเอาไปใช้อย่างไรApplying)


การไปศึกษาดูงานในครั้งนี้เป็นการไปไกลเเละคุ้มค่าที่สุด ไดเห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น เป็นการเปิดโลกทัศ์ของเราให้กว้างขึ้น เห็นการจัดการเรียนรู้ของน้องอนุบาลทั้งที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ที่จังหวัดนครราชสีมา  เเละเห็นการจัดการเรียนของชั้นประถมศึกษา ชั้นมัธยมที่


โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นสิ่งที่แปลกใหม่มาก การไปดูงานครั้งนี้ก็พยายามที่จะเก็บเกี่ยวเอาประสบการณ์ ความรู้ มอง สังเกต  ถามสิ่งที่ตนเองสงสัย ให้มากๆเพื่อที่จะมีความเข้าใจ เเละนำมาใช้ในการเรียน การสอนของตนเอง ต่อไปในอนาคตเราก็ต้องกลับไปอยู่ต่างจังหวัดซึ่ง บริบทต่างๆก็ไม่ได้เเตกต่างจาก จังหวัดบุรีรัมย์  เราก็จะนำเอาตัวอย่างที่เห็นมา มาใช้ในการจัดการเรียน การสอนของปฐมวัย การจัดสภาพเเวดล้อม เป็นต้น


VDO สรุปภาพรวมทั้งหมดที่ไปดูงาน




วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Learning No. 11

การเข้าเรียน ครั้งที่ 11


วันที่ 21 สิงหาคม 2556 เวลาเรียน 08.30น. - 12.20 น.
.



งานที่ต้องรับผิดชอบ

- .ให้ไปเเก้้ไขของเล่นวิทยาศาสตร์ สื่อเข้ามุม สื่่อทดลอง ที่ยังซ้ำกับเพื่อน
-  ให้ไปทดลองว่าวใบไม้ ว่าเป็นอย่างไร

องค์ความรู้ใหม่ ( New knowledge )

การทำงานทุกอย่างต้องมีการวางเเผนงานที่ดี แบ่งตำเเหน่งหน้าที่ให้เหมาะสมกับความสามารถ
ของเเต่ละบุคคล เพื่อที่ทุกคนจะได้ทำงานในสิ่งที่ตนเองถนัด เเละผลงานที่ออกมาจะดีเช่นกัน 

จะเอาไปใช้อย่างไรApplying)

- การวางเเผน เตรียมงานในการทำโครงการไปดูงานนอกสถานที่นี้อาจารย์ให้เราทำเองเกือบทุกขั้นตอน เพื่อที่เราจะได้รับประสบการณ์ใหม่ๆที่เราไม่เคยทำ หรือเคยรู้มาก่อนจะได้รุ้ทำให้เราต้องไปศึกษาในส่วนที่ทำไม่เป็น แก้ไขส่วนที่ทำเป็นแต่ยังไม่ดีเท่าที่ควร เป็นประสบการณ์ที่หาซื้อไม่ได้  หากมีการจัดทำโครงการในโอกาสหน้าเราก็นำเอาประสบการณ์นี่ช้ที่เรามีการใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
- สิ่งที่เราได้รับมอบหมายมา เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ในส่วนหน้าที่ ที่ได้มอบหมายให้เเต่ละคนทำ หากไม่ทำ เราก็ต้องยื่นมือเข้าไปทำเพื่อที่งานในครั้งนี้จะสำเร็จไปด้วยดี เราทำเราเหนื่อยหน่อย เเต่สิ่งที่ได้กลับคืนมามันคุ้มค่าที่สุด
     
งานที่ต้องรับผิดชอบ(Tasks assigned)

- รับผิดชอบเกียวกับการไปศึกษาดูงานนอกสถานที่










หลักการขึ้นของว่าวใบไม้
(Principles.)


ว่าวใบไม้

   เป็นว่าวที่ใช้ลากเล่นครับ แต่ไม่สามารถลอยกินลมได้นานๆ เหมือนว่าวทั่วไป จุดเด่นอยู่ที่เป็นกระบวนการสอนให้เด็กๆ ใช้ของจากธรรมชาติ มาประดิษฐ์เป็นของเล่นง่ายๆ ครับ ไม่เปลืองตังค์ดี
ว่าวใบไม้ ทำจากใบไม้หลายประเภท เช่น ใบต้นหัวว่าว (กระแตไต่ไม้), ใบยาง, ใบไผ่ บางแห่งก็ใช้ใบไม้อื่น เช่น หูกวาง

     การเล่นว่าวต้องอาศัยลม ลมเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ บางวันลมแรง บางวันลมอ่อน เราจะควบคุมได้ก็เพียงตัวว่าวของเราเอง
เมื่อว่าวปะทะลม จะมีแรงมาเกี่ยวข้องด้วยคือ แรงจากน้ำหนักของว่าว แรงฉุดไปตามทิศทางของลม และแรงยกในทิศทางตรงข้ามของน้ำหนัก ผลรวมของแรงทั้งสาม เกิดเป็นแรงลัพท์ที่ทำให้ว่าวลอยขึ้นไปได้ และทิศทางของแรงลัพท์นี้ จะอยู่ในแนวเดียวกับแนวเชือกว่าวที่ต่อออกจากคอซุงพอดี

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Learning No.10


การเข้าเรียน ครั้งที่ 10


วันที่ 14 สิงหาคม 2556 เวลาเรียน 08.30น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 09.00 น.  เวลาเข้าเรียน 08. 15 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


บรรยากาศในห้องเรียน (Atmosphere in cassroom)

       วันนี้เพื่อนๆในห้องทุกคนค่อนข้างท่จะตั้งใจเรียนเป็นพิเศสไม่ค่อยมีเสียงดัง เเละอาจารย์ก็ไม่ได้เตือนให้เงียบเหมือนทุกครั้งของการเรียน การสอน อากาศในห้องเรียนก็อำนวย เเสงสว่างพอเพียง 
สืออุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น Computer Projectors  พร้อมมากเหมือนทุกๆสัปดาห์

การเรียน การสอน (Teaching)

- อาจารย์ได้พูดถึงคะเเนนบล็อก เเละการให้คะเเนนในการทำบล็อกเเละอยากให้ทุกคนเห็นมองให้เห็นถึงความสำคัญในการทำบล็อก
- ในสัปดานี้อาจารย์ตรวจ Blog อย่างเดียวเเละอาจารย์ พูดว่า " การตรวจ Blog ครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายแแล้ว จะไม่มีการเตือนอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถือว่าครั้งนี้เป๋นการเตือน และให้คำแนะนำเป็นครั้งสุดท้ายเเล้วทำก็คือทำ ไม่ทำก็จะหักคะเเนนทันที เพราะว่าเคยเรียนกับอาจารย์หลายครั้งเเล้ว"
-  อาจารย์จะเน้นตรงที่เป็นสื่อวิทยาศาสตร์ 3 ชนิดที่เรา Updat  ลงBlog ไป ว่าใครซ้ำก็จะต้องเปลี่ยนใหม่
- การทำแบบทดลองกับเด็กต้องมีการเกริ่นนำก่อนที่จะเข้ากิจกรรม
- การประดิษณ์ของเล่น เเละ ของเข้ามุมเราต้องทำเองเเละถ่ายภาพม าUpdat บล็อ

องค์ความรู้ใหม่ ( New knowledge )


- การจดบันทึกให้เราจำมากขึ้นยิ่งขึ้น

- การทำงานเป็นทีม เราต้องช่วยกันคนละไม้ละมือ ใครเก่งด้านไหนก็ช่วยๆกัน เพื่อที่ให้งานสำเร็จด้วยดี

จะเอาไปใช้อย่างไรApplying)

- นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
- ทำให้เรามีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
- ทำให้เราสามารถวางแผน ในการทำงานได้เป็นอย่างดีจากการทำโครงการไปศึกษาดูงาน
- การจดบันทึกให้เราจำมากขึ้นยิ่งขึ้น
- การทำงานเป็นทีม เราต้องช่วยกันคนละไม้ละมือ ใครเก่งด้านไหนก็ช่วยๆกัน เพื่อที่ให้งานสำเร็จด้วยดี
- ทำให้เราต้องมีการกระตุ้นตัวเองในการที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

- สิ่งที่อาจารย์ได้มอบให้กับเราเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอยู่เเล้ว  เราก็พยายามเอาโอกาสนั้นเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ความรู้มากที่สุด

งานที่ต้องรับผิดชอบ(
Tasks assigned)

- เเก้ไขของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ซ้ำกับเพื่อน
- แก้ไขในส่วนของการทดลองที่จะต้องลองเขียนให้เหมือนเป็นการจัดการทดลองเเบบจริงกับเด็ก
-ทำคำสั่งเเต่งตั้งกรรมการ ใบขออนุญาติผู้ปกครอง ใบเซ็นชื่อ  แบบประเมินความพึงพอใจ เเละรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการไปศึกษาดูงาน



วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Learning No. 9

  การเข้าเรียน ครั้งที่ 9


วันที่ 7 สิงหาคม 2556 เวลาเรียน 08.30น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 09.00 น.  เวลาเข้าเรียน 08. 15 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

บรรยากาศในห้องเรียน (Atmosphere in cassroom)

       วันนี้อาจารย์ติดธุระที่หอประชุมอาจารย์เลยให้รอที่ใต้ตึกคณะ อาจารย์จะมาประมาณ10.00น. เเต่ก็มีเพื่อนบางส่วนที่นึกว่าอาจารย์ไม่สอนเลยกลับไปก่อน เเละคนที่มาเรียนก็น้อย เเต่ก็ดีที่มีคนน้อยเพราะว่าไม่เสียงดัง คุยเรื่องงานกันรู้เรื่อง อาจารย์ไม่ต้องคอยเตือนเพื่อน


การเรียน การสอน (Teaching)

  • อาจารย์ให้นักศึกษาไปศึกษาข้อมูลของสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เเละโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เพื่อที่เราไปดุงานเราจะได้มีข้อมูลพื้นฐานไปบ้าง จะได้มองภาพของเเต่ละโรงเรียนออก
  • อาจารย์ให้ไปคิดว่าการไปดูงานจะต้องเเบ่งหน้าที่กันอย่างไร
  • ให้ไปวางเเผนมาสิ่งที่จะต้องจัดเตรียมหา เพื่อที่วันไปดูงานจะได้มีความพร้อมมากที่สุด

องค์ความรู้ใหม่ ( New knowledge )
  • สิ่งสำคัญที่จะทำใหงานนั้นเดินไปอย่างราบรื่น เเละสำเร็จลุล่วงได้ต้องมีความร่วมมือกันของทุกคน เเละการวางเเผนงานที่ดี

จะเอาไปใช้อย่างไรApplying)

  • การรวมเพื่อนให้ได้เพื่อที่จะประชุม
  • การวางเเผนงานร่วมกัน 
งานที่ต้องรับผิดชอบ(Tasks assigned)

  • นัดเพื่อนประชุม
  • ศึกษาข้อมูลของ 2 ดรงเรียนคือ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เเละโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เป็นความรู้พื้นฐานเรา
  • อ่าน ทำความเข้าใจในเเนวทางการจัดการเรียน การสอน

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Learning No. 8


การเข้าเรียน ครั้งที่ 8


วันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เวลาเรียน 08.30น. - 12.20 น.



    เเต่ว่าเราก็ใช้เวลานี้เเหละที่มีโอกาสในการที่จะเคลียงานให้เสร็จ เรียบร้อย ซึ่งก็มีหลายอย่าง เช่น การเตรียมตัวอ่านหนังสือ เเต่ละรายวิชา การทำผังความคิดลงบล็อก  การสรุปองค์ความรู้ต่างๆ 

ข้อคิดดีๆ

    คนที่ฉลาดจะใกอบโกยเวลาที่มีอยู่นี้ ทำสิ่งที่มีประโยชน์มากที่สุด เท่าที่จะทำได้  เเต่ก็ยังมีคนที่ใช้เวลาอย่างฟุ่มเฟือยไม่เห็นคุณค่า ของเวลาเลยแม้เเต่นิด ใช้ไปกับการเล่นที่ไร้สาระ การไปไหนต่อไหนที่ไม่เกิดประโยชน์  เมื่อเวลาทุกคนมี24 ชั่วโมงเท่ากันก็ควรที่จะทำประโยชน์ใให้ได้เท่ากับคนอื่นหรือมากกว่าคนอื่นก็ยังดีกว่า

ความรู้เพิ่มเติม


   นิทานอธิบายเหตุ เป็นนิทานพื้นบ้านล้านนาอีกประเภทหนึ่ง ที่ชาวล้านนาใช้อธิบายสิ่งต่าง ๆ เนื่องจากคนโบราณไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จึงไม่สามารถตอบคำถามถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นได้ นิทานอธิบายเหตุจึงเป็นเครื่องมือในการอธิบายถึงกำเนิด หรือความเป็นมาของสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ อาจอธิบายถึงการกำเนิดหรือลักษณะของสัตว์บางชนิด ที่มาของชื่อสัตว์ต่าง ๆ การกำเนิดของพืช ดวงดาว มนุษย์ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น สิ่งของเครื่องใช้ มักเล่าอย่างตรงไปตรงมา เพื่อตอบคำถามว่าทำไมสิ่งนั้นจึงเป็นอย่างนั้น

นิทานเรื่องกบกินเดือน(การเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา)

ในสมัยก่อนพระเจ้าเหา มีครอบครัวๆหนึ่ง ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกเมือง ครอบครัวนี้มีอยู่ด้วยกัน ๔ คน คือ พ่อ แม่ ลูกสาวสองคน ในสมัยนั้นถ้าครอบครัวไหนมีลูกสาวก็จะได้รับการอบรมเรื่องภายในบ้านเกี่ยวกับการเป็นแม่บ้านที่ดีเช่น การจัดการบ้านการเรือน ความประพฤติ กิริยามารยาท ตลอดจนการทำอาหาร และในครอบครัวนี้ก็ได้อบรมในเรื่องต่างๆ ตามธรรมเนียมประเพณีของชาวล้านนา ต่อมาไม่นานทั้งสองคนก็สามารถที่จะทำได้อย่างชำนาญ

                วันหนึ่ง พ่อแม่บอกให้ลูกสาวทั้งสองคนไปทำอาหารเพื่อจะได้ทดสอบดูฝีมือ ทั้งสองคนก็เข้าไปในครัวแล้วช่วยกันทำอาหารจนเสร็จ และทั้งสองคนก็ทดลองชิมดูรสอาหารที่ได้ทำมาแต่ด้วยรสอาหารที่ไม่ถูกปากซึ่งกันและกัน ทั้งสองจึงโต้เถียงกันจนอดกลั้นไม่ไหว พี่สาวจึงเอาป้าก (ทัพพีฟาดหน้าน้องสาว ส่วนน้องสาวก็เอาสาก (ไม้ตีพริกฟาดหน้าพี่สาวของตัวเอง ต่อสู้กันจนตายคาที่

เมื่อทั้งสองตายไปแล้ว ยมบาลได้นำเอาวิญญาณของทั้งสองไปพิพากษาและตัดสินว่า ทั้งสองนี้ได้ทำการอันน่าบัดสีมาก สมควรจะได้ตกนรกทั้ง ชั้น” เมื่อตกนรกไปแล้วก็ให้คนพี่ไปเกิดเป็นเดือน/ตะวัน ส่วนคนน้องไปเกิดเป็นกบเมื่อทั้งสองไปเกิดแล้ว ก็ยังอาฆาตกันอยู่อีก เมื่อใดที่ได้มีโอกาสพบกันเข้าอีก ความอาฆาตแค้นก็เกิดขึ้น คนน้องจึงได้อ้าปากคาบเดือน/ตะวันคนพี่ ไว้ในปาก ฝ่ายชาวบ้านชาวเมืองเมื่อเห็นเหตุการณ์นี้เมื่อใด ก็เกิดความสงสารเดือน/ตะวัน ก็จะช่วยกัน ตีเกราะ เคาะไม้ ไล่ให้กบตกใจจะได้ปล่อยเดือน/ตะวันออกมา ดังเช่นทุกวันนี้

สิ่งที่ไดรับจากนิทานเรื่องนี้

  • คนสมัยก่อนไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อเกิดปรากฎการณ์ทางธรรมมชาติขึ้นมาจึงใช้วิธีการเล่านิทานเพื่อ เล่าถึงสิ่งกำเนิด
  • นิทานประเภทนี้มีชื่อ ประเภทว่านิทานอธิบายเหตุ
  • ทำให้รู้ว่าเมื่อเกิดการเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาตามจังหวัดต่างๆที่อยู่ทางภาคอีสาน ที่ใช้ ไม้เคาะ ให้เกิดเสียงดังเป็นเพราะอะไร
  • นำนิทานเรื่องนี้ไปเล่าให้เด็กๆฟัง เด็กๆคงเข้าในในปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้อย่างง่าย