การเข้าเรียน ครั้งที่ 12
วันที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลาเรียน 08.30น. - 12.20 น.
ไปศึกษาดูงานนอกสถานที่
ไปศึกษาดูงาน ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ที่จังหวัดนครราชสีมา เเละโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่จังหวัดบุรีรัมย์ เราออกเดินมทางตั้งเเต่วันที่ 27-28 เดือนสิงหาคม
บรรยากาศในสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา (Hard ice Demonstration atmosphere in Nakhon Ratchasima Rajabhat University)
เมื่อไปถึงมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ตื่นเต้นมากเเล้วคิดว่าจะเป็นเหมือนกับมหาวิทยาลัยเราหรือไม่ ตามที่เห็นก้มีทั้งเหมือนเเละต่างบ้าง อาจารย์ทุกท่านให้การต้อนรับเราดีมากๆ หลังจากนั้นอาจารย์เเต่ละคนก็ได้เเยกกันไปเพื่อที่จะพานักศึกษาไปดูน้องอนุบาลห้องต่างๆ
การจัดเรียน การสอน (Management of teaching and learning.)
การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
จัดการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546อยู่บนพื้นฐานบริบทของชุมชน สังคม และท้องถิ่นรอบตัวเด็ก
โดยการเตรียมความพร้อมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้าน ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ
สังคม และสติปัญญา ด้วยการบูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
และนำนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย ใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาให้เต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน
โดยการจัดการเรียนรู้ใช้กระบวนการคิดและกิจกรรมเป็นฐาน (Thinking
and Activity Based Learning) เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่กล่าวว่า
๒. หลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัย
ช่วงอายุ อายุต่ำกว่า 3 ปี และ ช่วงอายุ 3 - 5 ปี
ระยะเวลาเรียนขึ้นอยู่กับอายุเด็กที่เริ่มเข้ารับการอบรมเลี้ยงดูและรับการศึกษา
ระยะเวลาในการจัดการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย มีระยะเวลา 4 ปี
การศึกษาแต่ละปีการศึกษามีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 36 – 38 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน ใน 1 วัน
จัดกิจกรรมตามตารางประจำวัน ดังนี้
ตารางกิจกรรมประจำวัน
07.00 – 08.00 น. รับเด็ก ตรวจสุขภาพ เข้าห้องน้ำ
08.00 – 08.30 น. เข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ไหว้พระ กายบริหาร
08.30 – 09.00 น. กิจกรรมพัฒนาโรงเรียน ล้างมือ เข้าห้องน้ำ
09.00 – 09.20 น. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
09..20 – 09.45 น. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
09.45 – 10.00 น. พักรับประทานของว่างเช้า
10.00 – 11.00 น. กิจกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมเสรี
11.00 – 11.30 น. กิจกรรมกลางแจ้ง
11.30– 12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
12.00 – 14.30 น. นอนพักผ่อน
14.30 – 15.00น. เก็บที่นอน ล้างหน้า รับประทานอาหารว่างบ่าย
15.00 – 15.30 น. กิจกรรมเกมการศึกษา
15.30– 16.30 น. เตรียมตัวกลับบ้าน (เลิกเรียน)
หมายเหตุ
เวลาในแต่ละกิจกรรมอาจเปลี่ยนแปลงหรือยืดหยุ่นได้ตามกิจกรรมตามความเหมาะสม
ซึ่งยึดเด็กเป็นสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความสนใจและความต้องการของเด็ก
เช่น การศึกษานอกสถานที่หรือจัดกิจกรรมในโครงการ เป็นต้น
บรรยากาศในโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
(Hard ice Demonstration atmosphere in Lamplaimat Pattana Scool )
เราเดินทางไปถึงโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ เวลาประมาณ 18.00น. รู้ศึกว่าอากาศที่นั้นเป็นธรรมมชาติมากจริงๆมีเเต่ต้นไม้ เขียวขจีไปหมด มองยังไม่เห็นว่าอาคารเรียนต่างๆอยู่ที่ไหน อากาศอย่างนี้ทำให้คิดถึงบ้านที่ศรีสะเกษมาก เรานอนค้างคืนกันที่นี่ อาหารที่นี่ก็อร่อยมาก มีเเตอาหารที่ถูกปากทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริกปลาทู ส้มตำ หมูทอด ต้มจืด เป็นต้น
ปรัชญาของโรงเรียน
"การศึกษาพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ " ( Education for complete human development)
สิ่งที่เเตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอบ
เป็นโรงเรียนที่ไม่เสียงระฆัง
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีดาวให้ผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ไม่ต้องใช้แบบเรียน
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีครูอบรมหน้าเสาธง
เป็นโรงเรียนที่ได้ได้จัดลำดับความสามารถของผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ครูสอนด้วยเสียงเบาที่สุด
เป็นโรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ร่วมกับลูก
เป็นโรงเรียนที่ทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
นวัตกรรม
จิตศึกษา เป็นรูปแบบนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นในโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาหรือโรงเรียนนอกกะลา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เพื่อให้เป็นแนวคิดและกระบวนการพัฒนาทั้งครูและเด็กให้เกิดการเรียนรู้และงอกงามด้านใน หรือ ความฉลาดด้านจิตวิญญาณ ปัญญาภายใน หรือ ความฉลาดด้านในหมายรวมถึงความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ SQ และความฉลาดทางด้านอารมณ์ EQ ซึ่งได้แก่ การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง (รู้ตัว) และผู้อื่น การเห็นคุณค่าในตัวเอง คนอื่น และสิ่งต่างๆ เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายและมีความหมาย การอยู่ด้วยกันอย่างภราดร ยอมรับในความแตกต่าง เคารพและให้เกียรติกัน การมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม อยู่อย่างพอดีและพอใจได้ง่าย การมีสติอยู่เสมอ รู้เท่าทันอารมณ์เพื่อให้รู้ว่าต้องหยุด หรือไปต่อกับ สิ่งที่กำลังเป็นอยู่ มีความสามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้ การมีสัมมาสมาธิ เพื่อกำกับความเพียรให้การเรียนรู้หรือการทำภาระงานให้ลุล่วง มีความอดทนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งต่างๆ นอบน้อมต่อสรรพสิ่งที่เกื้อกูลกันอยู่ การมีจิตใหญ่มีความรักความเมตตามหาศาล
จะเอาไปใช้อย่างไร( Applying)
การไปศึกษาดูงานในครั้งนี้เป็นการไปไกลเเละคุ้มค่าที่สุด ไดเห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น เป็นการเปิดโลกทัศ์ของเราให้กว้างขึ้น เห็นการจัดการเรียนรู้ของน้องอนุบาลทั้งที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ที่จังหวัดนครราชสีมา เเละเห็นการจัดการเรียนของชั้นประถมศึกษา ชั้นมัธยมที่
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นสิ่งที่แปลกใหม่มาก การไปดูงานครั้งนี้ก็พยายามที่จะเก็บเกี่ยวเอาประสบการณ์ ความรู้ มอง สังเกต ถามสิ่งที่ตนเองสงสัย ให้มากๆเพื่อที่จะมีความเข้าใจ เเละนำมาใช้ในการเรียน การสอนของตนเอง ต่อไปในอนาคตเราก็ต้องกลับไปอยู่ต่างจังหวัดซึ่ง บริบทต่างๆก็ไม่ได้เเตกต่างจาก จังหวัดบุรีรัมย์ เราก็จะนำเอาตัวอย่างที่เห็นมา มาใช้ในการจัดการเรียน การสอนของปฐมวัย การจัดสภาพเเวดล้อม เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น